วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Jazz Jazz

วง Jazz เจ๋ง ๆ New Orleans Stompers และ New Orleans Jazz Hounds ของญี่ปุ่น

นี่เล่นกับ Shaye Cohn นัก Trumpet Jazz ชื่อดัง
Just A Closer Walk With Thee - New Orleans Stompers

เพลง Jambalaya ที่เคยชอบในแบบของ Carpenters ไม่นึกว่าแนว Jazz จะสนุกมาก
Jambalaya - New Orleans Stompers 

นัก Clarinet เธอฝีมือโดดเด่นมาก ไปเล่นกับกลุ่มอื่นริมถนนที่ชินจูกุ
Clarinet Marmalade - Cresent City Walkers

สุดยอดมาก

วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Asuka's song


Hibike! Euphonium 2 ต่อเรื่องราวจาก Hibike! Euphonium ซึ่งคนอาจจะรู้สึกว่าจบห้วน ๆ แต่ผมคิดว่าจบแบบ No Resolution อย่างนั้นจะดีกว่า แต่ออกมาแล้วก็นับว่าทำได้ดี แม้ว่าบางเรื่องราวจะขัด ๆ ไปบ้าง เพราะต้องการแก้เรื่องความรักของ Kumiko กับ Reina ซึ่งก็ไม่น่าจะแก้สักเท่าไร ยังไงก็ตาม Climax เป็นเรื่องราวความยุ่งยากของ Asuka ซึ่งตั้งแต่ภาคแรก Kumiko ก็เห็นว่า รุ่นพี่ Asuka นี้มีหน้ากากอยู่ ซึ่งเธอไม่เคยลดลงเลย ทำให้คนไม่สามารถเข้าถึงเธอได้ ซึ่งเมื่อความยุ่งยาก และหน้ากากเริ่มคลี่คลายออก ก็เป็นการ Solo Euphonium ของ Asuka ที่สุดยอดมาก เพราะมาก ๆ หวาน ๆ ปนเศร้า ๆ ฟังได้จาก

Asuka's solo | Hibike! Euphonium S2E09

ฝรั่งฮือฮาว่าเพลงอะไร เพราะจริง ๆ หาไม่เจอเลย Transcribe กันใหญ่ ดูโน้ตได้จาก

Asuka's Solo Sheet Music- Hibike! Euphonium S2E9
หรือ
Asuka Field Excerpt
และที่อื่น ๆ อีกมากมาย

น่าเป่า Euphonium มาก แต่เสียงสูงมาก
เป็น Anime ที่ดีจริง ๆ แต่ละภาคมีแค่ 13 - 14 episode แต่มีคุณภาพมาก

วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Ai wo mitsuketa basho (The Place Where I Found Love)


Hibike! Euphonium เป็นการ์ตูนเรื่องราวเกี่ยวกับนักเรียน ม.ปลาย ที่เล่นดนตรีในวงโยธวาทิตของญี่ปุ่น สนุกมากสำหรับคนที่เคยเป็นนักดนตรี ม.ปลายในวงโยธวาทิต ในตอนจบ Episode 8 ตัวเอกของเรื่อง Kumiko (เป่า Euphonium คนกลางผมน้ำตาลในรูป) และ Reina (เป่า Trumpet คนทางซ้ายของ Kumiko ผมดำ) พากันปีนเขากลางคืนในวันเทศกาลที่เขาจุดไฟ แล้วเล่นเพลง Ai wo mitsuketa basho (แปลว่า The Place Where I Found Love) เรื่องราวเลยออกจะเกย์หน่อย ๆ แต่เป็น climax ที่สวยงามมากจริง ๆ ฟังเพลงที่เธอทั้งสอง Duet ได้ที่

Hibike! Euphonium Ending Episode 8

ปรากฎว่ามีคนชอบ Duet ของเพลงนี้มากอยู่ ใน Youtube จะเจอ Duet เพลงนี้อยู่หลายวิดีโอ เช่น

Hibike! Euphonium: Ai wo mitsuketa basho (duet) - Live Performance UT Dallas Anime Orchestra Ensemble

Cover- Ai Wo Mitsuketa Basho (The Place Where Love Was Found) from Hibike! Euphonium

แต่อันนี้ยังกะ Kumiko กับ Reina เลย (ถึงสไตล์แต่งตัวจะไม่เหมือนก็เหอะ)
 【響け!ユーフォニアム】愛を見つけた場所【演奏してみた】



วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Do not only practice art


Do not only practice art, but get at the very heart of it; this it deserves, for only art and science raise men to the level of the gods.
  

Beethoven's letters to Emilie. (Translation from German to English)
1812-07-17 Beethoven's Letter

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Search for Spock (in memory)



Last Tweet:

A life is like a garden. Perfect moments can be had, but not preserved, except in memory. LLAP


ป.ล. LLAP - Live Long and Prosper
Leonard Nimoy เป็นนักแสดงเป็น Spock ที่ยอดเยี่ยมที่สุด

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ไฟเสน่หา

เพลง ไฟเสน่หา (คลิ๊กเพื่อฟัง) ชอบเพลงนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว ทำนองเพราะ เนื้อร้องก็เพราะ สัมผัสคล้องจอง ใช้คำง่าย ๆ

รู้อยู่เต็มอก ซึ้งอยู่ในใจ ว่าเขาไม่รัก
สุดจะหัก ห้ามดวงใจ ดับไฟเสน่หา
รู้อยู่ทุกครั้ง ที่คิดถึงเขา แสนทรมา
ก็เพราะรู้ว่า เขาไม่เคยซึ้ง คิดถึงเราเลย

รักเอย เพิ่งเคยซึ้งตรึงดวงจิต
ไม่อยากคิด ก็ยิ่งคิด นิจจาเอย
รู้อย่างนี้ จะไม่รัก ให้หนักใจเลย
โอ้ใจเอ๋ย ใจเรารัก เขาแล้วเอย

วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ปราสาทสีแดง


นึกถึง เพลงปราสาทสีแดง (คลิ๊กเพื่อฟัง) (ไม่ใช่เพลง ปราสาทแดง นะครับ)

...ชีวิตริมเขตรั้วอักษร ...
...
...
...ต่างคนระทวยหลับไหล
...เกลียดชังอย่างไรหรือรักเราแกล้งไม่สน
...ซึ้งใจดีกว่าอย่ามีเล่ห์กล
...รักเราเริ่มต้นที่ "ปราสาทสีแดง"
...

(ที่ละไว้จะได้ร้องตามในใจ)

วันเสาร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วันอาสฬหบูชา ธัมจักรกัปปวัตนสูตร

เทวเม ภิกขะเว อันตา 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างนี้มีอยู่ 
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา 
เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย 
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค 
นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย 
หีโน 
เป็นของต่ำทราม 
คัมโม 
เป็นของชาวบ้าน 
โปถุชชะนิโก 
เป็นของปุถุชน 
อะนะริโย 
ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า 
อะนัตถะสัญหิโต 
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง 
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค 
อีกอย่างหนึ่งคือการประกอบการทรมานตนให้ลำบาก 
ทุกโข 
เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์ 
อะนะริโย 
ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า 
อะนัตถะสัญหิโต 
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย 
เอเต เต ภิขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา 
ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อปฏิบัติทางสายกลาง 
ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำทั้งสองอย่างนั้นมีอยู่ 
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา 
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว 
จักขุกะระณี 
เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ 
ญาณะกะระณี 
เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ 
อุปะสะมายะ 
เพื่อความสงบ 
อะภิญญายะ 
เพื่อความรู้ยิ่ง 
สัมโพธายะ 
เพื่อความรู้พร้อม 
นิพพานายะ สังวัตตะติ 
เป็นไปเพื่อนิพพาน 
กะตะมา จะ สา ภิขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา 
ดูกรภิกษุทั้งหลายข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้นเป็นอย่างไร 
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค 
ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์แปดประการ 
เสยยะถีทัง 
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ 
สัมมาทิฎฐิ 
ความแห็นชอบ 
สัมมาสังกัปโป 
ความดำริชอบ 
สัมมาวาจา 
พูดจาชอบ 
สัมมากัมมันโต 
ทำงานชอบ 
สัมมาอาชีโว 
เลี้ยงชีพชอบ 
สัมมาวายาโม 
พากเพียรชอบ 
สัมมาสติ 
ระลึกชอบ 
สมาสมาธิ 
ตั้งใจชอบ 
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง 
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา 
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว 
จักขุกะระณี 
เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ 
ญาณะกะระณี 
เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ 
อุปะสะมายะ 
เพื่อความสงบ 
อะภิญญายะ 
เพื่อความรู้ยิ่ง 
สัมโพธายะ 
เพื่อความรู้พร้อม 
นิพพานายะ สังวัตตะติ 
เป็นไปเพื่อนิพพาน 
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ คือ ทุกข์ นี้มีอยู่ 
ชาติปิ ทุกขา 
คือความเกิดเป็นทุกข์ 
ชะราปิ ทุกขา 
ความแก่เป็นทุกข์ 
มะระณัมปิ ทุกขัง 
ความตายเป็นทุกข์ 
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสปิ ทุกขา 
ความโศกเศร้า ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ 
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข 
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจเป็นทุกข์ 
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข 
ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักที่พอใจเป็นทุกข์ 
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง 
ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ 
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา 
กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ 
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ 
ยายัง ตัณหา 
นี้คือ ตัณหา 
โปโนพภะวิกา 
อันเป็นเครื่องทำให้เกิดภพ ทำให้มีการเกิดอีก 
นันทิราคะ สะหะคะตา 
อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน 
ตัตระ ตัตราภินันทินี 
เป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ 
เสยยะถีทัง 
ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ 
กามะตัณหา 
ตัณหาในกาม 
ภะวะตัณหา 
ตัณหาในความมีความเป็น 
วิภะวะตัณหา 
ตัณหาในความไม่มี ไม่เป็น 
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้มีอยู่ 
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ 
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น 
จาโค 
เป็นความสลัดทิ้ง 
ปะฏินิสสัคโค 
เป็นความสลัดคืน 
มุตติ 
เป็นความปล่อย 
อะนาละโย 
ทำให้ไม่มีที่อาศัยซึ่งตัณหานั้น 
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้มีอยู่ 
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค 
คือข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ 
เสยยะถีทัง 
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ 
สัมมาทิฎฐิ 
ความแห็นชอบ 
สัมมาสังกัปโป 
ความดำริชอบ 
สัมมาวาจา 
พูดจาชอบ 
สัมมากัมมันโต 
ทำงานชอบ 
สัมมาอาชีโว 
เลี้ยงชีพชอบ 
สัมมาวายาโม 
พากเพียรชอบ 
สัมมาสติ 
ระลึกชอบ 
สัมมาสมาธิ 
ตั้งใจชอบ 
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างนี้ ดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตัพพันติ 
ว่าอริยสัจคือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ 
ว่าอริยสัจคือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้วดังนี้ 
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ 
ว่าอริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแลเป็นสิ่งที่ควรละเสียดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ 
ว่าอริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแลเราละได้แล้วดังนี้ 
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ 
ว่าอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแลเป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้งดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ 
ว่าอริยสัจคือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแลเป็นสิ่งที่เราทำให้แจ้งได้แล้วดังนี้ 
อิทัง ทุกขะนิโรธเคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน ว่าอริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ 
ว่าอริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแลเป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดทำให้มีดังนี้ 
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ 
ว่าอริยสัจคือข้อปฏิบัติที่ทำให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแลเป็นสิ่งที่เราทำให้เกิดทำให้มีแล้วดังนี้ 
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เราอยู่เพียงใด 
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพรหมมะณิยาปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ 
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง มีปริวัฏฏ์สาม มีอาการสิบสอง เช่นนั้น ในอริยสัจทั้งสี่เหล่านี้ เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา 
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะ มะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นเราปฏิญญาว่าได้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ 
ญาณัญจะ ปะนะ เม ภิกขะเว ทัสสะนัง อุทะปาทิ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณและทัศนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา 
อะกุปปา เม วิมุตติ 
ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ 
อะยะมันติมา ชาติ 
ความเกิดนี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย 
นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ 
ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้


ธัมจักรกัปปวัตนสูตร หรือ ปัจจวัคคีย์สูตร
 

วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ก่อนวันอาสฬหบูชา กับดอกบัวสามเหล่า

ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ปฐมเทศนาในวันอาสฬหบูชา มีเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบสัตว์กับดอกบัว ซึ่งปรากฎข้อความส่วนที่เกี่ยวข้องในพระสูตรดังนี้

... และเพราะอาศัยความกรุณาในสัตว์ ท. เราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุแล้ว เมื่อเราตรวจดูโลกด้วยพุทธจักขุอยู่ เราได้เห็นสัตว์ ท. ผู้มีธุลีในดวงตาเล็กน้อยบ้าง มีมากบ้าง ผู้มีอินทรีย์แก่กล้าบ้าง อ่อนบ้าง มีอาการดีบ้าง เลวบ้าง อาจสอนให้รู้ได้ง่ายบ้าง ยากบ้าง และบางพวกเห็นโทษในปรโลก โดยความเป็นภัยอยู่ก็มี เปรียบเหมือนในหนองบัวอุบล บัวปทุม บัวบุณฑริก ดอกบัวบางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำอันน้ำพยุงไว้ ยังจมอยู่ในน้ำ, บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำอันน้ำพยุงไว้ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ, บางเหล่าเกิดแล้วในน้ำ เจริญในน้ำอันน้ำพยุงไว้ โผล่ขึ้นพ้นน้ำ อันน้ำไม่ถูกแล้ว, มีฉันใด ราชกุมาร! เราได้เห็นสัตว์ทั้งหลายเป็นต่าง ๆ กัน ฉันนั้น...

ตามพระสูตร ทรงเปรียบเทียบสัตว์เป็นบัว 3 เหล่า ตามข้างต้น ตกลงแล้วบัว 4 เหล่าที่อยู่ในตำราเรียนพุทธศาสนามาจากไหนกันละ?


ป.ล. เคยเขียนไว้นานมากแล้ว เขียนใหม่อีกครั้งลงบล๊อคจะได้ไม่หาย

วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ลักษณะมหาบุรุษ

ผมไม่เข้าใจ ทำไมคนถึงยึดถือเรื่อง มหาบุรุษ ที่เขาบรรยายเป็นลักษณะ 32 ประการอะไรนั่น ยึดถือขนาดใส่ในหนังสือเรียน ทั้ง ๆ ที่ถ้าไปอ่านจริง ๆ ใครมีลักษณะ (ตามตัวอักษร) ที่ว่าคงจะเป็น Alien แหงเลย ลองอ่านดูใน Wikipedia เรื่องมหาปุริสลักษณะ ดูนะครับว่า Alien ไหม อีกอย่างรูปลักษณะนี้เป็นแค่ของภายนอก มันหยาบ และไม่ยั่งยืน ขัดกับหลัก อนัตตลักขณสูตร อย่างยิ่ง
 
มีพระสูตรที่มีผู้ถามเรื่องลักษณะมหาบุรุษอยู่นะครับ อย่าง วัสสการสูตร ที่วัสสการพราหมณ์ (ที่เป็นเจ้าแห่งอุบายทรมานสังขาร) ถามว่า เขาคิดว่า มหาบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4 ประการคือ

1. เป็นผู้รับฟังเรื่องราวมามาก และรู้ความหมายในเรื่องราวนั้น ๆ
2. เป็นผู้มีสติ ระลึก ตามระลึกสิ่งที่กระทำ สิ่งที่พูดแล้ว แม้นานแล้วได้
3. เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในกรณียกิจของคฤหัสถ์
4. เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาอันเป็นทางดำเนินในกรณียกิจนั้น สามารถเพื่อจะทำ สามารถจะจัดแจงได้

พระพุทธเจ้าจะเห็นด้วยหรือไม่
พระพุทธเจ้าบอกว่า ไม่เห็นด้วย ไม่คัดค้านถ้าจะเชื่อเช่นนั้น แต่ท่านเห็นว่า มหาบุรุษ ประกอบด้วยธรรม 4 ประการดังนี้

1. เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อสุขแก่ชนหมู่มาก ยังประชุมชนมากให้ตั้งอยู่ในธรรมที่ควรรู้ เป็นอริยะ ได้แก่ ความเป็นผู้มีกัลยาณธรรม ความเป็นผู้มีกุศลธรรม
2. เป็นผู้ที่ต้องการจะคิดตริตรองในทางใด หรือไม่คิดตริตรองในทางใด ย่อมทำได้ เป็นผู้ชำนาญและมีอำนาจเหนือความคิดตริตรองของตน
3. เป็นผู้มีปรกติได้ตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
4. เป็นผู้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

รวมทั้งใน มหาปุริสสูตร ก็มีกล่าวอย่างย่อ (สามข้อแรกสามารถรวบได้ในข้อ 4 ข้อเดียว) ตามนี้เช่นกัน

ตกลงชาวพุทธควรจะเชื่อลักษณะของมหาบุรุษว่าเป็นแบบ Alien ดูแค่รูปร่างลักษณะภายนอก หรือว่าจะเชื่อแบบมีเหตุผล (ถ้าคิดว่าไม่มีเหตุผลก็ลองแย้งดูครับ) ตาม 4 ข้อนี้ เลือกเอาครับ

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จับแพะชนแกะ

ผมอ่านบทความ พระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาจังหวัดลพบุรี ในหนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์ (นำเสนอหลายบทความ) แล้วรู้สึกว่าทำไมถึงจับแพะชนแกะได้ขนาดนี้

ต้นเรื่องมาจากรอยพระพุทธบาท ยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง ผู้เขียนเขาได้สรุปว่า รอยพระพุทธบาท นี่เป็นรอยเท้าจริง ๆ ของพระพุทธเจ้า โดยอ้างอิงจากอรรถกถาบ้าง พงศาวดารบ้าง รวมทั้งดูจากรอยพระพุทธบาทที่ไม่มีภาพมงคล 108 อะไรเป็นเรื่องเป็นราว จนถึงเรื่องลักษณะมหาบุรุษอะไรอีก

ผมอยากจะสรุปดังนี้

1. อรรถกถาเป็นเอกสารอ้างอิงที่เชื่อถือเลยไม่ได้ อรรถกถาเป็นคัมภีร์ที่แต่งเพื่ออธิบายข้อความในพระไตรปิฎก ในเรื่องนี้คือ พระสูตรที่ชื่อว่า ปุณโณวาทสูตร ข้อความในพระสูตรมีแค่พระพุทธเจ้าอธิบายถึงอริยสัจ 4 แบบย่อ (อ่านที่ link ดูได้) ส่วนอะไรมากกว่านั้นเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทอะไรนั่นในอรรถกถาไม่รู้เอามาจากไหน ซึ่งอรรถกถามักจะเป็นอย่างนี้ มีอะไรเกินเลยออกมา กลายเป็นเอาข้อความไปใส่ปากพระพุทธเจ้าไป แค่เนื้อหาก็รู้แล้วว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน

2. ถ้าใครเคยติดตามที่เขาศึกษาสถูปในอินเดียซึ่งอยู่ในช่วง พ.ศ. 100 - 600 บ้างจะพบว่า ในยุคนั้น ยุคที่ยังไม่มีพระพุทธรูป ศิลปะสมัยนั้นเวลาเขาทำรูปสลักจากหินเรื่องพุทธประวัติ เขาไม่สลักพระพุทธเจ้าเป็นรูปคน แต่เขาจะใช้สัญลักษณ์ หนึ่งในสัญลักษณ์ที่ใช้คือทำเป็นรูป รอยเท้า ครับ

มองยังไม่เห็นเลยด้วยตรรกะ หลักเหตุผล หลักความจริง จากข้อมูลต่าง ๆ ว่า จะสรุปว่าพระพุทธเจ้าเคยเสด็จมาจังหวัดลพบุรีได้อย่างไร ผมว่าแค่พอสรุปได้ว่ามีการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาในยุคหลังปรินิพพานไม่นาน (พ.ศ. 100 - 600) หรือ อาจจะหลังจากนั้นแต่คนยังคงยึดถือในศิลปะยุคเก่าอยู่ มาถึงจังหวัดลพบุรี แค่นั้นนะครับ จะสรุปมากกว่านี้คงต้องหาหลักฐานอ้างอิงมากกว่านี้